
การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า หรือ BEV กำลังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าสถานีชาร์จก็ต้องเยอะขึ้นตามเช่นกัน
วันนี้เราเลยจะมาบอกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับสถานีชาร์จในแต่ละที่ว่า สถานีชาร์จ EV คิดราคายังไง? จ่ายเงินทางไหน? กำลังการชาร์จสูงสุดคือเท่าไหร่? บทความนี้เรามีคำตอบ ราคาค่าชาร์จ เป็นเรื่องที่แอดมินว่าหลาย ๆ คนน่าจะให้ความสนใจเป็นเรื่องหลัก นั่นคือเรื่องของราคา โดยทั่วไปแล้ว เราจะแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ
1. การคิดราคาแบบ TOU (Time of Use)
ซึ่งจะแบ่งราคาตามเวลา โดยที่ 9.00 – 22.00 ของวันธรรมดา เราจะเรียกว่าช่วง On-Peak และ เวลาที่เหลือคือ 22.00 – 09.00 จะเรียกว่าช่วง Off-Peak โดยการคิดราคาในลักษณะนี้ จะมีอยู่ 2 เจ้าคือ PEA Volta ที่คิดช่วง On-Peak ที่ 7.9 บาท และ Off-Peak 4.5 บาท และอีกเจ้าคือ PTT EV Station จะคิด On-Peak ที่ 7.5 บาท และ Off-Peak 7.5 บาท
2. การคิดตามเวลาการชาร์จ
แบบนี้คนทั่ว ๆ ไปน่าจะพอเข้าใจได้ง่ายมาก คิดง่าย ๆ เหมือนกับเวลาเราเข้าที่จอดรถบางที่ ที่มันจะต้องเสียเงินค่าที่จอด พวกนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในพวกลานจอดรถตามห้างร้านต่าง ๆ เช่นบางตู้ของ EA Anywhere เขาจะคิดเลย เช่น เราจอด 1 ชั่วโมงจะเป็น 100 บาท อะไรพวกนั้น โดยที่ไม่ได้สนใจว่า เราจะรับไฟได้เท่าไหร่ เท่าที่ดูของ EA Anywhere ตู้ที่เสียเงินในลักษณะนี้ มักจะเป็นตู้ชาร์จแบบ AC ซะมากกว่า ทำให้รถบางคันที่รองรับการชาร์จแบบ 1-Phase หรือ 7kW นั่นเสียเปรียบไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับรถที่ใช้งาน 3-Phase หรือ 22kW ที่จะดึงได้เต็มประสิทธิภาพของเครื่องชาร์จ
3. การคิดราคา
ต่อหน่วยไฟที่เราชาร์จ พวกนี้เขาจะบอกเลยว่า ไฟฟ้าที่ชาร์จหน่วยละเท่าไหร่ เช่นของ EleX By EGAT เขาจะคิดราคาแบบคงที่ตลอดเวลา ณ วันนี้คือ 7.5 บาท/หน่วย หรือก็คือ ไม่ว่าเราจะชาร์จเวลาไหน เราก็จะเสียเงินอยู่ที่ 7.5 บาท/หน่วยเสมอ

กำลังการชาร์จสูงสุด กำลังการชาร์จ
ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เราเลือกสถานีชาร์จด้วยเช่นกัน รถไฟฟ้าในไทยส่วนใหญ่ จะไม่ได้รองรับกำลังไฟที่สูงมาก ๆ เช่น 200kW ซึ่งแอดมินก็ยังไม่เห็นมีขับบนถนนไทยเยอะเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 60kW ในกลุ่มรถจีนทั้งหลายทำให้การลงทุนในเครื่องชาร์จกำลังสูง ๆ อาจจะยังไม่คุ้มสำหรับผู้ประกอบการ ณ เวลานี้เท่าไหร่ แต่สำหรับรถที่ชาร์จได้เร็วกว่านั้นในไทยเรา ณ วันนี้จะมีเครื่องที่แรงที่สุดอยู่ที่ 150 kW ส่วนตัวที่รองลงมาหน่อยก็จะเป็น 125 kW ส่วน EV Station ที่เล็กที่สุดจะจ่ายไฟได้สูงสุด 50kW เท่านั้น ซึ่งรถส่วนใหญ่ในไทยที่รับได้แค่ 60kW แอดมินมองว่า ณ วันนี้ในไทยเราที่ไหนว่างเราก็เข้าได้เลยเพราะสุดท้ายเร็วที่สุดที่รถเรารับได้ก็แค่ 60kW แต่ถ้าไป EV Station ที่ช้าที่สุด เราก็จะอยู่ที่ 50kW ซึ่ง อาจจะรอนานกว่าเดิมนิดหน่อย แต่ก็ไม่แย่ขนาดนั้น ส่วนรถที่ชาร์จได้เร็วกว่านั้นก็หา EV Station ที่ใกล้เคียงกับที่รถคุณรับได้เลย
การจ่ายเงิน การจ่ายเงิน หลัก ๆ แล้วเราจะแยกออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
1. การจ่ายผ่านบัตรเครดิต คือ เราจะต้องทำการเพิ่มบัตรเครดิตเข้าไปก่อน เรียกว่าเป็น Model ที่ทุกที่ทำกันหมด
2. การเติมเงินเข้าไปก่อน (PEA Volta) คือ การเติมเงินก่อนเข้าไป ซึ่งพวกนี้จะเติมเงินผ่านช่องทางการจ่ายเงินอื่น ๆ เช่น Thailand QR Code ได้เลย ทำให้ถ้าเกิดว่า เราไม่มีบัตรเครดิต เราก็ยังสามารถจ่ายเงินค่าชาร์จได้อยู
ถ้าหากคุณจะหาสถานีชาร์จไฟสาธารณะ แอดมินขอแนะนำสถานีที่ชาร์จได้เร็ว มีห้องน้ำสะอาด และ ร้านอาหารเยอะ เป็นอันดับแรกเนื่องจากจะทำให้คุณเดินไปซื้อของ หรือ เข้าห้องน้ำระหว่างชาร์จได้ด้วย และถ้าหากคุณอยากติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านทาง E-Viron ก็ยินดีให้บริการ เราดูแลให้ครบจบในที่เดียว
สนใจติดตั้ง EV Charger กับ E-VIRON ติดต่อแอดมินได้เลยครับ 098 828 4602